การเลี้ยงกุ้งมังกร ในทะเล

NATIONAL INSTITUTE OF OCEAN TECHNOLOGY

(Dept. of Ocean Development, Govt. of India),

Pallikaranai, Chennai 601 302

TEL.-5578 3300, 2246 1102

December 2004

สารบาญ

บทนำ
ทรัพยากรกุ้งมังกร
ชีววิทยาและวงจรชีวิตของกุ้งมังกร
เทคนิคในการขุนกุ้งมังกร
การเลี้ยงในทะเล
การเลือกสถานที่
การออกแบบกรงเลี้ยง
อัตราการปล่อย
การให้อาหาร และการเตรียมอาหารมีชีวิต
การจัดการ การบำรุงรักษากรงเลี้ยง
การเก็บเกี่ยวผลผลิต และการขนส่ง
แนวโน้มการตลาด
ต้นทุนการผลิต
การถ่ายทอดเทคโนโลยี
การอนุรักษ์ และการจัดการทรัพยากรกุ้งมังกร

บทนำ
Spiny lobster เป็นพวกที่มีเปลือกแข็งหุ้มลำตัวพบบริเวณฝั่งทะเลที่เป็นหิน เมื่อโตเต็มที่มีขนาดความยาวลำตัว 60 เซนติเมตร ในประเทศอินเดียมีการจับกุ้งมังกร ประมาณ 3,000 ตันและ กุ้งมังกรที่จับได้ส่วนใหญ่จะถูกส่งออกเพื่อจำหน่าย กุ้งมังกรที่พบมีอยู่ 8 ชนิด เป็น กุ้งมังกรที่อาศัยบริเวณน้ำตื้น 6 ชนิดอีก 2 ชนิดอาศัยในทะเลลึก และ กุ้งมังกรที่อาศัยบริเวณหาดทรายคือ Lobster ชนิด Thenus orientalis ซึ่งในประเทศอินเดียมีการสนับสนุนให้ทำการประมงกุ้งมังกร ชนิดนี้ กุ้งมังกรที่อาศัยในเขตน้ำตื้นประกอบด้วย Panulirus homarus, P. ornatus, P. polyphagus, P. pencillatus, P. versicolor และ P. longipes greens เป็นชื่อเรียก กุ้งมังกรชนิด P. homarus และ P. polyphagus ส่วน tiger เป็นชื่อเรียกกุ้งมังกรชนิด P. ornatus และ sand Lobster คือชนิด T. Orientalis ซึ่งเป็นชนิดที่สามารถจับได้มากที่สุดในเมือง Tamil Nadu

Spiny Lobster ในสภาพมีชีวิตเป็นที่ต้องการมากของประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีราคาสูง จากความต้องการดังกล่าวทำให้มีการใช้ทรัพยากรประมงเกินกำลังผลิต (มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร Lobster เพิ่มมากขึ้น) มากกว่า 1 ใน 3 ของกุ้งมังกรที่จับในประเทศอินเดียมีน้ำหนักน้อยกว่า 150 กรัม ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 100 กรัม ซึ่งจะถูกส่งออกในสภาพมีชีวิต หรือแปรรูป กุ้งมังกรมีชีวิตซึ่งมีน้ำหนักน้อยกว่า 100 กรัมจะถูกส่งออกไปยัง ไต้หวัน และจีน เพื่อขุน ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่า เพื่อหลีกเลี่ยงการทำประมงกุ้งมังกรในระยะวัยอ่อน และ พ่อแม่พันธุ์ กระทรวงพาณิชย์ของรัฐบาลอินเดียจึงได้ ประกาศห้ามส่งออกกุ้งมังกร ที่มีขนาดเล็ก โดยได้ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี ค.ศ. 2003 แนวทางที่ดีในการใช้ประโยชน์ตัวอ่อนของกุ้งมังกร ซึ่งถูกจับขึ้นมาจากการทำประมง คือการขุนให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่า และเพื่อเลี้ยงกุ้งมังกร ในช่วงก่อนหรือหลังการลอกคราบ ซึ่งในช่วงดังกล่าวหากมีการขนส่งมักไม่รอดชีวิต

จากจุดประสงค์ดังกล่าวทำให้ National Institute of Ocean Technology (NIOT), an autonomous institution of Department of Ocean Development, Government of India จัดทำโปรแกรมสำหรับการขุนกุ้งมังกร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกม Ocean Science and Technology for Islands (OSTI) programme ทาง NIOT ได้พัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการขุนกุ้งมังกร ในระบบการเลี้ยงภายในโรงเรือน และการเลี้ยงในกรงในทะเล และได้เผยแพร่ ตลอดจนจัดฝึกอบรมให้แก่ชาวประมง และผู้ที่สนใจ โดยได้มีการสาธิตให้ผู้เข้าอบรมได้เห็น และสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้อย่างพอมีพอกิน


P. homarus P. ornatus


P. pencillatus P. polyphagus


P. versicolor T. orientalis


ทรัพยากรกุ้งมังกร

กุ้งมังกร มีการแพร่กระจายตลอดแนวชายฝั่งของประเทศอินเดีย ผลผลิตกุ้งมังกรส่วนใหญ่ได้มากจากแถบตะวันตกเฉียงเหนือ, ตะวันตกเฉียงใต้ และทางฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ ชาวประมงจะจับกุ้งมังกรโดยใช้อวนลาก บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือ (ทางตอนเหนือ) ที่ระดับความลึกของน้ำ 70 เมตร ส่วนทางตะวันตกเฉียงใต้ และตะวันออกเฉียงใต้ (ทางตอนใต้) ชาวประมงจะทำการประมงโดยใช้อวน หรือตาข่าย (gillnet) ในการทำประมงกุ้งมังกร


ชีววิทยาและวงจรชีวิตของกุ้งมังกร
กุ้งมังกร เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในทะเล กุ้งมังกรเพศเมียจะปล่อยไข่ออกมาเก็บไว้บริเวณขาว่ายน้ำซึ่งมีระยางค์ ช่วยในการอุ้มไข่ เรียกว่า setae กุ้งมังกร tiger lobster ตัวเต็มวัยเพศเมียที่มีขนาดใหญ่ สามารถอุ้มไข่ได้มากถึง 2,000,000 ฟอง ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนภายในระยะเวลา 25-30 วัน และสามารถว่ายน้ำได้อย่างอิสระ เรียกตัวอ่อนระยะนี้ว่า phyllosoma และใช้เวลา 8-10 เดือนในการพัฒนาเป็นกุ้งมังกรขนาดเล็ก และลงสู่พื้น


กุ้งมังกรเพศผู้ กุ้งมังกรเพศเมีย



เทคนิคในการขุนกุ้งมังกร
ภายหลังจากที่มีการพัฒนาเทคนิคการขุนกุ้งมังกร ในบ่อซีเมนต์ ภายใต้โรงเรือนแล้ว NIOT จึงได้มี ขุนกุ้งมังกร ในกรงเลี้ยงที่อยู่ในทะเล ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมอาชีพประมง เพิ่มรายได้ให้กับประมงชายฝั่งของรัฐบาล


4.1 การขุนกุ้งมังกรในทะเล

การเลือกสถานที่
สถานที่ต้องสามารถเดินทางไปมาได้สะดวก (การคมนาคมขนส่งสะดวก) ไม่มีภัยธรรมชาติ และภาวะมลพิษ และค่อนข้างเงียบ มีการทำประมงน้อย พื้นทะเลต้องเหมาะกับการยึดเกาะของสมอที่ยึดกับกรงเลี้ยงกุ้งมังกร มีการนำกุ้งมังกรในระยะวัยอ่อน อาหารธรรมชาติ หอยกาบ ปลาเล็กปลาน้อย และปู มาใช้ประโยชน์ จึงจะเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม


การออกแบบกรงเลี้ยงกุ้งมังกร
กรงเลี้ยงลูกแรกได้ถูกออกแบบโดย NIOT ให้มีโครงซึ่งทำจากท่อ GI ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 ½ นิ้ว กรุด้วยตาข่ายเหล็กโดยรอบมีขนาด 2 x 2 x1.2 เมตร และภายในประกอบด้วยกรงเลี้ยงขนาด 0.75 x 0.75 x1.1 เมตรจำนวน 4 ลูก หุ้มด้วยตาข่ายไนล่อน 2 ชั้น ด้านในใช้ตาข่ายขนาด 15 x 15 มิลลิเมตร และด้านนอกหุ้มด้วยตาข่ายขนาด 5 x 5 มิลลิเมตร ทาสีกรงโดยใช้สีที่ไม่เป็นอันตราย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการใช้สีทากันเพรียง ในช่วงต่อมาได้มีการพัฒนา (ปรับลดขนาด) กรงเลี้ยงซึ่งอยู่ด้านในให้มีขนาด 1 ลูกบาศก์เมตร

การออกแบบกรงเลี้ยงล่าสุดได้มีการนำ Fibre Reinfores Plastic (FRP) มาเป็นวัสดุในการทำกรงเลี้ยงกุ้งมังกร โครงสร้างของกรงเลี้ยง จะประกอบกับโพลียูรีเทนโฟม (ช่วยในการลอยตัว)


กรงที่ใช้เลี้ยงกุ้งมังกร


ลักษณะกรงเลี้ยง (ชั้นนอก และชั้นใน)


จัดวางกรงเลี้ยงแบบ MS


กรงเลี้ยงแบบ FRP จัดวางกรงเลี้ยงแบบ FRP


อัตราการปล่อย
ทำการคัดเลือกตัวอ่อนที่ได้จากการจับมารวบรวมในกรงเลี้ยงที่ระดับความหนาแน่น 25-30 ตัว/ตารางเมตร บันทึกน้ำหนัก ความยาวหัว (carapage length) ของกุ้งมังกรทุกตัวเพื่อติดตามการเจริญเติบโต และปริมาณความต้องการอาหาร


ปล่อยกุ้งมังกรลงเลี้ยงในกรง



การให้อาหาร และการเตรียมอาหารมีชีวิต
Spiny Lobster เลือกกินอาหาร อาหารที่กินได้แก่ สัตว์น้ำที่มีเปลือกพวกหอย กุ้ง ปู ปลาเกล็ด หอย หอยกาบ ปลาหมึก ปลาเล็กปลาน้อย เป็นต้นซึ่งอาหารเหล่านี้จะใช้ในการขุนกุ้งมังกร อาหารมีชีวิตที่ทาง NIOT ใช้เลี้ยงกุ้งมังกรในการโครงการนี้คือ หอยแมลงภู่ (Aazhi), หอยกาบ (Matti) และหมึก (Kadama)



หอยแมลงภู่ (Aazhi) หอยกาบ (Matti)

หมึก (Kadamba)

คัดเลือกหอยเพื่อเป็นอาหารของกุ้งมังกร


อาหารเหล่านี้สามารถนำไปให้แก่กุ้งมังกรทั้งแบบให้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือให้อาหารหลายชนิดรวมกัน โดยให้หอยกาบหรือหอยแมลงภู่ในปริมาณ 50-60 ตัว ขึ้นอยู่กับขนาดของหอย ซึ่งประมาณ 3% ของน้ำหนักตัวกุ้งมังกร (อาหาร 3 กรัม/กุ้งมังกรขนาด 100 กรัม) เป็นปริมาณอาหารที่ให้ต่อวัน ต่อกุ้งมังกร 1 กรง กุ้งมังกรไม่สามารถแกะเปลือกของหอย 2 ฝาขนาดใหญ่ได้ หากเป็นหอยขนาดใหญ่ หอยกาบหรือหอยแมลงภู่ขนาดใหญ่จะต้องใช้หินทุบเพื่อทำให้เปลือกแตกออกก่อน เพื่อสะดวกในการกินและเป็นการลดการใช้พลังงานของกุ้งมังกรในการแกะเปลือกหอย


อาหารมีชีวิต (การเลี้ยงหอยแมลงภู่) :

ใช้เชือก หรือถุงที่ผูกให้ลอยในน้ำใกล้กับกรงเลี้ยงเลี้ยงกุ้งมังกร เป็นวัสดุสำหรับให้หอยแมลงภู่มาเกาะอาศัย หอยแมลง่จะกินแพลงก์ตอนที่อยู่ในน้ำเป็นอาหารโดยการกรอง หอยจะเกาะติดกับเชือกโดยใช้ byssal การเลี้ยงด้วยวิธีดังกล่าวจะทำให้หอยมีอัตรารอดถึง 90% และสามารถเพิ่มจำนวนและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เพียงพอที่จะใช้เป็นอาหารสำหรับกุ้งมังกรที่เลี้ยงในปัจจุบัน และในฤดูกาลต่อไปอีกด้วย



เชือกที่แขวนเลี้ยงหอยแมงภู่

เชือกและถุงใส่หอยจะถูกนำมาแขวนไว้ หอยแมลงภู่ที่เลี้ยงไว้


(e) การติดตามการเจริญเติบโต/การสุ่มตัวอย่าง

กุ้งมังกรเจริญเติบโตโดยการลอกคราบโดยการสลัดคราบเก่าออกเพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโต ความถี่ในการลอกคราบขึ้นอยู่กับขนาด ชนิดของอาหาร และสภาพแวดล้อม

ความถี่ในการลอกคราบ : กุ้งมังกรขนาด 60-70 กรัม ลอกคราบ 1 ครั้งทุกเดือน

กุ้งมังกรขนาด 150-160 กรัม ลอกคราบ 1 ครั้งทุก 2 เดือน

กุ้งมังกรที่เพิ่งผ่านการลอกคราบต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างมาก การเจริญเติบโตของสัตว์สามารถประเมินได้จากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น โดยจะทำการบันทึกน้ำหนักของกุ้งมังกรหลังการลอกคราบซึ่งเป็นช่วงที่เปลือกแข็งตัวแล้ว (หลังลอกคราบ 2-4 วัน)

อัตราการเจริญเติบโต : 30-35 กรัม/เดือน ซึ่งเป็นข้อมูลอัตรการเจริญเติบโตของกุ้งมังกรที่ Tharuvaikulam อัตราการปล่อยที่ความหนาแน่นมากกว่า 25 ตัว/ตารางเมตร


ก่อนการขุน หลังการขุน


การจัดการ การบำรุงรักษากรงเลี้ยง และการดูแลสุขภาพของกุ้งมังกร
เมื่อถึงเวลาที่ต้องทำความสะอาดกรงเลี้ยงจะต้องนำสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช่กุ้งมังกรออกจากกรงเลี้ยง ต้องมีการดูแลกุ้งมังกรที่เลี้ยงอย่างสม่ำเสมอหมั่นนำสาหร่ายที่ติดอยู่กับเปลือกของกุ้งมังกรออกโดยการขัดเบาๆด้วยแปรงสีฟัน ผนังกรงก็เช่นเดียวกันต้องหมั่นดูแลตรวจเช็ครอยขาดของตาข่ายเป็นช่วงๆ และคอยทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ


การเก็บเกี่ยวผลผลิต และการขนส่ง
เลี้ยงกุ้งมังกร ขนาด 60-70 กรัม จนได้ขนาดตลาด (> 250 กรัม) โดยใช้ระยะเวลาเลี้ยง 5 เดือน กุ้งมังกรถูกนำออกจากกรงเลี้ยง อย่างระมัดระวังเพื่อลำเลียงไปยังที่รวบรวมซึ่งมีทรายที่มีความชื้น หากเป็นการขนส่งซึ่งใช้เวลานาน (ระยะไกล) จะบรรจุกุ้งมังกรลงในกล่องที่มีการควบคุมอุณหภูมิดังภาพที่แสดงด้านล่าง

กุ้งมังกรที่ขุนไว้พร้อมเก็บเกี่ยวผลผลิต

กุ้งมังกรถูกนำออกจากบ่อรวบรวมผลผลิต นำผลผลิตมาชั่งน้ำหนัก


กล่องควบคุมอุณหภูมิภายในบรรจุ นำกุ้งมังกรมาจุ่มลงในน้ำเย็น

ป่านและหนังสือพิมพ์

ห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ บรรจุลงกล่อง


ปิดผนึกกล่อง

บรรจุขวดน้ำทะเลแช่แข็งลงในกล่อง

กล่องที่ปิดผนึกรอการขนส่ง


แนวโน้มการตลาด
กุ้งมังกร เป็นสินค้าที่ตลาดมีความต้องการสูง และส่งออกในรูปแบบที่หลากหลายจากอินเดีย กุ้งมังกรที่จับโดยใช้อวนลากมักจะตาย และจะถูกส่งมายังจุดรวบรวมเพื่อส่งออก หรือ ส่งในรูปของกุ้งมังกรแช่แข็ง หรือในของกุ้งมังกรที่ปรุงสุกแล้ว กุ้งมังกรมีชีวิตจะมีราคาสูงที่สุด ส่วนใหญ่กุ้งมังกรที่จับแบบดั้งเดิม โดยใช้ตาข่าย แบบตาข่ายจับปลาที่แขวนในลักษณะตั้งตรงอยู่ในน้ำ สถานที่ในการรวบรวมกุ้งมังกรกุ้งมังกรมีชีวิตอยู่ที่ Mandapam, Nagapattinam, Tuticorin, Chennai และ Kanyakumari ใช้เวลาในการขนส่งไปยังแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3 วันโดยบรรจุในกล่องควบคุมอุณหภูมิ และขนส่งทางอากาศ


ต้นทุนการผลิต
โครงการขุนกุ้งมังกรในทะเล ในกรงเลี้ยงขนาด 4 ตารางเมตร (กรงขนาด 1 ตารางเมตร จำนวน 4 กรง)

อัตราการปล่อย 25 ตัว/ตารางเมตร

พื้นที่เลี้ยง 4 ตารางเมตร ประกอบด้วยกรงเลี้ยงขนาด 1 ตารางเมตร 4 กรง

จำนวนกรงเลี้ยง 4 x 25 = 100

ขนาดเมื่อเก็บเกี่ยว > 250 กรัม

ระยะเวลาเลี้ยง 5 เดือน

อัตรารอด 90 % (90 nos) 90 ตัว

น้ำหนักรวม 90 x 250 = 22500 กรัม (22.5 กิโลกรัม)

ราคาขายที่คาดไว้ 700 Rs/กิโลกรัม

22.5 x 700 = 15750 Rs. (ระยะเวลาการเลี้ยง 5 เดือน)

ค่ากรงเลี้ยงแบบ MS สมอเรือ เชือก 32000 Rs

ค่ากรงเลี้ยงแบบ FRP สมอเรือ เชือก 48000 Rs

ชาวประมงจะเป็นผู้ดูแลกุ้งมังกรซึ่งเลี้ยงไว้ในกรง ให้อาหาร คัดขนาด และรวบพันธุ์ ทำความสะอาดกรงเลี้ยงแบบ FRP ทุกสัปดาห์ ขูดเพรียง ทาสี และเปลี่ยน anode ของกรงเลี้ยงแบบ MS 1 ครั้งใน 6 เดือน คิดเป็นต้นทุน 4000 Rs ต่อปี

มูลค่าสูงสุด คือ กรงเลี้ยงแบบ FRP

แหล่งเงินทุนสำหรับทำกรงเลี้ยง

ภายใต้การสนับสนุนเงินทุนจากรัฐบาล

เงิน้ยืมจากธนาคาร

ลงทุนด้วยตัวเอง


การ ถ่ายทอดเทคโนโลยี
NIOT ได้วางแผนจะถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว โดยจัดให้มีการฝึกอบรมการเลี้ยงกุ้งมังกร ในหัวข้อการคัดเลือกสถานที่ การออกแบบ และการจัดวางกรงเลี้ยงที่เหมาะสมในทะเลเปิด ในอนาคตกรงเลี้ยงกุ้งมังกรทั้ง 6 กรงซึ่งแบ่งเป็นช่องละ 1 ตารางเมตร จำนวน 24 ช่อง ซึ่งวางเรียงอยู่ที่ Tharuvaikulam จะเป็นประโยชน์แก่กลุ่มบุคคลทั้ง 16 คน (รวมถึงผู้หญิงทั้ง 12 คนที่ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มสตรีช่วยเหลือตนเองในเขต Rural)

วางแผนเรื่องการจัดวางกรงเลี้ยงที่ Tharuvaikulam กลุ่มสตรีช่วยเหลือตนเอง



กรงเลี้ยงเลี้ยงกุ้งมังกรในทะเลที่ Tharuvaikulam


การอนุรักษ์ และการจัดการทรัพยากรกุ้งมังกร
การใช้ทรัพยากรกุ้งมังกรในแหล่งน้ำของอินเดียจนเกินกำลังผลิต จะส่งผลต่อทรัพยากรในธรรมชาติดังนั้นจึงต้องมีการร่วมมือกันอย่างพร้อมเพรียงจึงมีผลต่อความยั่งยืนของทรัพยากร โดยการป้องกันกุ้งมังกรเพศเมียที่มีไข่แก่ และการควบคุมตามกฎหมายในเรื่องขนาดที่เล็กที่สุด ป้องกันการการแพร่พันธุ์ของทรัพยากร และการจำกัดการจับ ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันสำหรับประเทศที่ทำการประมงกุ้งมังกรเป็นหลัก ข้อกำหนดหรือกฎหมายเหล่านี้กำลังบังคับใช้ในประเทศอินเดีย และเรากำลังดำเนินการจับกุ้งมังกรที่มีไข่แก่ และกุ้งมังกรในระยะ early juvenile การกำหนดขนาดเล็กสุดของกุ้งมังกรที่สามารถส่งออกได้โดยกระทรวงพาณิชย์ เป็นมาตรการซึ่งเป็นที่ยอมรับ โดยกำหนดให้กุ้งมังกร green Lobster ชนิด P. homorus ที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 200 กรัม และชนิด P. polyphagus ที่น้ำหนักต่ำกว่า 300 กรัม กุ้งมังกร Tiger Lobster ชนิด P. ornatus น้ำหนักต่ำกว่า 500 กรัม และ sand Lobster น้ำหนักต่ำกว่า 150 กรัม ไม่สามารถส่งออกจากประเทศอินเดียได้ เกษตรกรสามารถนำไข่ของกุ้งมังกรมาทำการเพาะฟักในกรงเลี้ยง และปล่อยตัวอ่อนที่ได้จากการเพาะฟักลงสู่ทะเล

เป็นที่ทราบกันดีว่าการเลี้ยงกุ้งมังกรมีข้อจำกัดที่ไม่สามารถควบคุมได้ คือ การขยายตัวของการเลี้ยงกุ้งมังกรในทะเลจะส่งผลต่อการประมงกุ้งมังกรวัยอ่อน ซึ่งไม่ควรอนุญาตให้ทำการประมง เป็นที่น่าสังเกตว่ากรงเลี้ยงกุ้งมังกรที่ Tharavaikulam มีกุ้งมังกรขนาดเล็ก เข้ามารวมตัวอยู่ในกรง จากข้อมูลดังกล่าวนี้สามารถนำไปใช้ในการจัดการ และเป็นข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์จากกุ้งมังกรวัยอ่อน เพื่อการขุนซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรของกุ้งมังกรในธรรมชาติ

บริษัท ไทยเว็บ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
2/152 ซอยเพชรเกษม 114 แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10160
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี : 0105553027232
Tel : 02-810-8300 (จ.-ศ.08.30 - 17.30 น.) , 085-8213121 (24 ชม.) Fax : 02-810-8301
Email : [email protected] (ฝ่ายขาย) [email protected] (ฝ่ายบริการลูกค้า)
เพิ่มเพื่อน
0