กรมศุลกากร เปิดสอบบรรจุ เพื่อรับราชการ นักวิชาการศุลกากรปฏิบัติการ ( 17 มิถุนายน - 7 กรกฎาคม 2564 )
หน่วยงาน / องค์กร
กรมศุลกากร
รายละเอียด
กรมศุลกากร
ถนนสุนทรโกษา คลองเตย กรุงเทพฯ 10110
รับสมัคร : ข้าราชการ โดยวิธี : สอบแข่งขัน
ตำแหน่ง : นักวิชาการศุลกากรปฏิบัติการ
เงินเดือน : 15,000 ตามเอกสาร 16,500 บาท
ประเภท : วิชาการ ระดับปฏิบัติการ
จำนวน : 30 ตำแหน่ง
ระดับการศึกษา : ปริญญาตรี
รายละเอียดวุฒิ : ได้รับปริญญาตรี หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชา ดังนี้
1. สาขาวิชาภาษา วรรณคดี
2. สาขาวิชาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์
3. สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ
4. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
5. สาขาวิชารัฐศาสตร์
6. สาขาวิชานิติศาสตร์
7. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
8. สาขาวิชาการบัญชี
9. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
10. สาขาวิชาการจัดการ
11. สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์
12. สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์
13. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์
14. สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ
15. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
16. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ
17. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ทางวิทยาศาสตร์การอาหาร
18. สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
19. สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม
ลักษณะงานที่ปฏิบัติ : ปฏิบัติงานในฐานะผู้ปฏิบัติงานระดับต้น ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านวิชาการศุลกากร ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ ต้องสามารถปฏิบัติงานได้ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และสามารถปฏิบัติงานเป็นผลัดหรือเป็นกะได้ โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในงานด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ด้านการปฏิบัติการ
(1) ร่วมดำเนินการตรวจสอบข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับพิธีการการนำสินค้าเข้า และส่งสินค้าออก เพื่อยืนยันความถูกต้องของข้อมูล
(2) การพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร พิกัดอัตราศุลกากร พิธีการและราคาศุลกากร ตรวจสอบพิกัดอัตราศุลกากร ราคาศุลกากร ถิ่นกำเนิดสินค้า การกำหนดราคาศุลกากร การประเมินอากร สิทธิตามอนุสัญญาระหว่างประเทศที่มีความตกลงผูกพันกับประเทศไทย เพื่อให้สามารถดำเนินการเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรได้อย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
(3) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดเก็บเงินภาษีอากรและเงินค่าธรรมเนียมต่าง ๆ และการจัดเก็บอากรปากระวาง เพื่อให้การจัดเก็บภาษีเป็นไปอย่างถูกต้องตรงตามเป้าหมายที่กำหนด
(4) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจปล่อยสินค้าที่นำเข้าและส่งออก การคืนค่าภาษีอากร ออกแบบแจ้งการประเมิน เพื่อให้การควบคุมกระบวนการตรวจปล่อยสินค้า การคืนภาษี การแจ้งผลการประเมินเป็นไปอย่างรวดเร็ว ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
(5) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการตรวจปล่อยของติดตัวผู้โดยสารขาเข้าและขาออก เพื่อให้ การปฏิบัติพิธีการศุลกากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(6) ร่วมวิเคราะห์ประมวลผลข้อมูลสัญญาณภาพจากการตรวจสอบตู้สินค้า ด้วยเครื่องเอกซเรย์ เพื่อควบคุมและตรวจสอบพิกัดอัตราศุลกากรให้สามารถจัดเก็บภาษีได้ อย่างมีประสิทธิภาพ
(7) ร่วมตรวจคัดตรวจปล่อยของนำเข้า ตามเอกสาร ส่งออกทางไปรษณีย์ การควบคุมการบรรทุก และขนถ่ายสินค้า การควบคุมยานพาหนะและสินค้าขาเข้าตามเอกสารออก และการควบคุมสินค้าผ่านแดน เพื่อป้องกันการลักลอบกระทำความผิดทางศุลกากร
(8) ร่วมปฏิบัติงานในการควบคุมการเก็บของ การขนย้าย การนำของออกจากเขตที่กำหนดในคลังสินค้า คลังสินค้าทัณฑ์บน เขตปลอดอากร เขตอุตสาหกรรมส่งออก เขตพื้นที่พัฒนาร่วม เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามกฎ ระเบียบทางศุลกากรที่กำหนด
(9) การตรวจสอบเอกสาร หลักฐานบัญชีเกี่ยวกับการนำเข้า ส่งออก ณ สถานประกอบการ เพื่อให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ กฎ ระเบียบทางศุลกากรที่กำหนด
(10) การสืบสวน ประมวลหลักฐาน ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิด ตามกฎหมายศุลกากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันผลประโยชน์ของประเทศและประชาชน
(11) การดูแลเก็บรักษาและจำหน่ายของกลาง ของตกค้าง และการตรวจสอบสินค้าของตกค้างและของกลาง เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามกฎ ระเบียบทางศุลกากรที่กำหนด
2. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
3. ด้านการประสานงาน
(1) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(2) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ด้านการบริการ
(1) ให้คำแนะนำ ปรึกษาในเบื้องต้น แก่หน่วยงานราชการ เอกชน ข้าราชการ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับการนำเข้า ส่งออก สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร พิกัดอัตราศุลกากร พิธีการและราคาศุลกากร และแผนปฏิบัติที่เกี่ยวกับอนุสัญญาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากร เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจและนำไปสู่การปฏิบัติเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรอย่างถูกต้อง
(2) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำเอกสาร ตำรา คู่มือ สื่อ เอกสารเผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับงานวิชาการศุลกากร
ความรู้ที่จำเป็น(วิชาที่สอบ) : ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง โดยวิธีการสอบข้อเขียน จำนวน 200 ข้อ คะแนนเต็ม 200 คะแนน ใช้เวลาสอบ 3 ชั่วโมง ประกอบด้วย
ตามเอกสาร ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกรมศุลกากร
ตามเอกสาร ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ยกเว้นภาค 2 และภาค 3) กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับงานศุลกากร และความรู้เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ)
ตามเอกสาร ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ
ตามเอกสาร การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical thinking)
ตามเอกสาร ความรู้เกี่ยวกับวินัย จรรยาบรรณและจรรยาของข้าราชการ
เปิดรับสมัคร : วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2564 ถึง วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2564