ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศรับสมัครผู้สำเร็จการศึกษา และผู้มีประสบการณ์ เพื่อบรรจุเป็นพนักงาน ธปท.

หน่วยงาน / องค์กร ธนาคารแห่งประเทศไทย
รายละเอียด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประสงค์จะสรรหาผู้ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา และผู้มีประสบการณ์ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับงานหลักของ ธปทได้แก่ งานด้านนโยบายการเงิน ด้านนโยบายสถาบันการเงิน ด้านตลาดการเงิน ด้านกำกับสถาบันการเงินและด้านบริหารความเสี่ยง

การสรรหาจะใช้วิธีเปิดรับสมัครทาง Web ตลอดทั้งปี และดำเนินการสอบคัดเลือกเมื่อมีผู้สมัครจำนวนมากพอสมควร แล้วขึ้นบัญชีสำรองไว้เพื่อพิจารณาเมื่อมีอัตรากำลังว่าง รายละเอียดดังนี้

1.คุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัคร
· มีสัญชาติไทย อายุไม่เกิน 35 ปี
· สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับงานหลักของ ธปท. ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ การเงินการธนาคาร บริหารธุรกิจ(การเงิน) บัญชี บริหารความเสี่ยง วิศวกรรมทางการเงิน คอมพิวเตอร์ สถิติ และสาขาอื่นๆ ตามความจำเป็น ได้แก่ กฎหมาย นิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ
· ความสามารถภาษาอังกฤษ คะแนน TOEIC 550 ขึ้นไป หรือเทียบเท่า IELTS 4.5/ TOEFL 500
· หากเป็นเพศชาย ต้องผ่านการรับราชการทหาร หรือพ้นการเกณฑ์ทหารแล้ว หรือมีหลักฐานแสดงว่าไม่ต้องรับราชการทหาร


2. วิธีการและขั้นตอนการสมัคร
2.1 ผู้สนใจสมัครสามารถกรอก แบบฟอร์มการสมัครงาน ของ ธปท. พร้อม Attach file หลักฐานประกอบการ สมัครยื่นใบสมัครผ่านทางระบบออนไลน์
2.2 หลักฐานที่ใช้ในการสมัคร
-รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว หน้าตรงไม่สวมหมวกไม่ใส่แว่นตาสีดำ
-หลักฐานแสดงพื้นความรู้ (Transcript)
-ประวัติส่วนตัว (Resume)
-หลักฐานแสดงผลการสอบ TOEIC หรือเทียบเท่า
-หลักฐานหรือข้อมูลอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา เช่น ผลงานวิทยานิพนธ์ Dissertation/Thesis) ความรู้ความสามารถในการใช้โปรแกรมต่างๆ หรือ เอกสารรับรอง เช่น CFA CPA CIA (ถ้ามี)


3. การคัดเลือกผู้สมัคร

ธปท.จะพิจารณาคัดเลือก เฉพาะผู้สมัครที่ยื่นทางออนไลน์ และมีหลักฐานการสมัคร ครบถ้วนเท่านั้น และหากคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถของผู้สมัครตรงตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ ธปท.
จะติดต่อผู้สมัครโดยตรงเพื่อเข้ารับการทดสอบเพื่อคัดเลือกตามขั้นตอนดังนี้
3.1 การทดสอบข้อเขียนเพื่อวัดความรู้ตามสาขาวิชาที่ผู้สมัครสำเร็จการศึกษา
3.2 การทดสอบทักษะภาษาอังกฤษด้วยการเขียน Essay
3.3 หากสอบผ่านข้อเขียน จะเรียกสอบสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการ

4.การขึ้นบัญชีสำรองและการดำเนินการเพื่อบรรจุเป็นพนักงาน ธปท.

4.1 ผู้ผ่านการพิจารณาคัดเลือก ตามขั้นตอนที่ 3.3 จึงจะมีสิทธิขึ้นบัญชีสำรองการเป็นพนักงาน ธปท. ตามกลุ่มสาขาวิชา โดยจะขึ้นบัญชีสำรองไว้ไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่ วันที่ ธปท. อนุมัติ
4.2 เมื่อมีตำแหน่งงานว่าง ธปท. จะพิจารณาผู้ที่ขึ้นบัญชีสำรองไว้เพื่อเรียกตัวเข้าทดลองงานโดยอาจมีการสัมภาษณ์เพิ่มเติมก็ได้ ผู้ผ่านการคัดเลือกที่ได้รับการเรียกตัวเข้าทดลองงานใน ธปท. จะต้องทดลองงานเป็นเวลา 4 เดือน หากผลทดลองงานผ่านตามเกณฑ์ที่ ธปท. กำหนด และผ่านการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานต่างๆ ผ่านการตรวจร่างกาย สุขภาพจิต พิมพ์ลายนิ้วมือและสอบประวัติอาชญากร สืบประวัติและพฤติการณ์โดย ธปท. จึงจะได้รับการบรรจุเป็นพนักงาน ธปท.

5. สนใจสมัครงาน

ใบสมัครงาน >> http://www2.bot.or.th/WebRC/Applicant/Applicant.aspx

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ทีมสรรหาและนักเรียนทุน 2 ฝ่ายทรัพยากรบุคคล โทร 0 2283 6753, 0 2283 5503 หรือ
E-mail ที่ [email protected]


หมายเหตุ เครื่อง OS Window Vista + Web Browser : Internet Explorer version 8 อาจมีผลกระทบ ไม่ปรากฎปุ่ม Browse สำหรับ Attach file เอกสารแนบ

เพื่อความสะดวกผู้สมัครควรเตรียม File หรือ Scan หลักฐานการสมัครงานให้พร้อมก่อนกรอกข้อมูลในใบสมัคร (หลักฐานแสดงพื้น ความรู้ (Transcript)โปรด Scan คำอธิบายด้านหลัง Transcript ด้วย)

โครงสร้าง ธปท .
สายนโยบายการเงิน
 ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ
 ฝ่ายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
 ฝ่ายนโยบายการเงิน
 ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจ
 ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน
 ฝ่ายนโยบายความเสี่ยง
 ฝ่ายนโยบายระบบการชำระเงิน
สายนโยบายสถาบันการเงิน
 ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง
 ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนเงินและสินเชื่อ
สายตลาดการเงิน
สายกำกับสถาบันการเงิน
 ฝ่ายกำกับสถาบันการเงิน
 ฝ่ายตรวจสอบความเสี่ยงและ IT
 ฝ่ายตรวจสอบ 1-2
 ฝ่ายวางแผนและพัฒนา
 ฝ่ายวิเคราะห์และติดตามฐานะ
 ฝ่ายตรวจสอบสถาบันเฉพาะกิจ และ Non-bank
ฝ่ายบริหารความเสี่ยงและปฏิบัติการทางการเงิน
 ส่วนบริหารความเสี่ยงทางการเงิน
 ส่วนกำกับความเสียงตลาดการเงิน
 ส่วนธุรการบริหารเงิน

สายนโยบายการเงิน

ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ
1.ศึกษา ประเมิน วิเคราะห์ และวิจัยในประเด็นสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะและแนวโน้ม
การคลังของประเทศ โดยเฉพาะในส่วนที่มีนัยสำคัญต่อการดำเนินนโยบายการเงิน ทั้งด้านการ
หารายได้ การใช้จ่ายเงิน และการก่อหนี้สาธารณะ
2. ศึกษา ประเมิน วิเคราะห์ และวิจัยในประเด็นภาวะและแนวโน้มของดุลการชำระเงินของ
ประเทศ ซึ่งรวมถึงดุลการค้า ดุลบริการ บัญชีเงินทุนเคลื่อนย้าย เพื่อเป็นข้อมูลใน
การประมวลผลภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาคและประเมินเสถียรภาพเศรษฐกิจด้าน
ต่างประเทศ
3. ศึกษา ประเมิน วิเคราะห์ และวิจัยในประเด็นภาวะและนโยบายเศรษฐกิจด้านอุปทานทั้งใน
ภาพรวมและในสาขาธุรกิจที่สำคัญ ซึ่งรวมถึงการสำรวจและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ
ผู้ประกอบการ เพื่อใช้ประมวลผลภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค ตลอดจนการวิเคราะห์
ผลกระทบของนโยบายด้านอุปทานที่สำคัญของภาครัฐที่มีต่อภาวะและเสถียรภาพเศรษฐกิจ
เพื่อการดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสม

ฝ่ายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
1.ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ประสานงาน ติดตาม นโยบาย การดำเนินงานขององค์กรเศรษฐกิจ
การเงินระหว่างประเทศ รวมทั้งเสนอแนะท่าทีของ ธปท. ต่อเวทีการประชุมระหว่างประเทศ
ต่างๆ
2.ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ประสานงาน และติดตามภาวะเศรษฐกิจ การเงิน การธนาคารของกลุ่ม
ประเทศ G3 และประเทศต่างๆ ในภูมิภาค เพื่อประเมินความเสี่ยงและผลกระทบต่อระบบ
เศรษฐกิจการเงินของไทยเพื่อประกอบการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจการเงินของ ธปท.
3.ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจวิชาการและพัฒนาระบบการชำระเงินกับประเทศ
เพื่อนบ้าน
4.ศึกษา วิเคราะห์ นโยบายเงินทุนและนโยบายการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งการเจรจา
ต่อรองในเวทีความตกลงระหว่างประเทศ เช่น FTA
ฝ่ายนโยบายการเงิน 1.ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และประมาณการภาวะเศรษฐกิจ การเงิน แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ
ผลกระทบอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อสนับสนุนการดำเนิน
นโยบายการเงินแบบ Inflation Targeting
2. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และประเมินความเปราะบาง การก่อตัวของปัจจัยลบ (Shock) ที่อาจ
ส่งผลต่อเสถียรภาพราคาและเสถียรภาพเศรษฐกิจมหภาคโดยรวม
3. จัดทำรายงาน ข้อมูลต่างๆ เตรียมการประชุมทางด้านนโยบายเพื่อเสนอ
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)

ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจ
1. วิจัยในหัวข้อที่เกี่ยวกับงานหลักของธนาคาร เช่น เศรษฐกิจ การเงิน ระบบ
การชำระเงิน และสถาบันการเงิน เป็นต้น รวมทั้ง งานวิจัยเศรษฐกิจที่ทันต่อเหตุการณ์
ปัจจุบัน และงานวิเคราะห์และวิจัยที่เกี่ยวเนื่องกับนโยบายเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ
2. สนับสนุนการร่วมมือกันระหว่างสายงาน (Cross Organization) เพื่อจัดทำงานวิจัยในหัวข้อ
ที่เกี่ยวกับงานหลักของธนาคาร เช่น เศรษฐกิจการเงิน สถาบันการเงิน ระบบการชำระเงิน
เป็นต้น โดยมีฝ่ายวิจัยเป็นศูนย์กลางในการดูแล
3. เป็นศูนย์ประสานงานเชื่อมโยงทางด้านวิจัย (Research network) ระหว่าง ธปท. และ
ภายนอก ทั้งภายในและต่างประเทศ อาทิ SEACEN รวมทั้งการ Outsource งานวิจัยให้แก่
บุคคลภายนอก และการแลกเปลี่ยนบุคคลากรด้านวิจัยกับหน่วยงานภายนอก
รายละเอียดลักษณะงานของฝ่ายงานหลัก ธปท.

สายตลาดการเงิน

ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง
1. ศึกษา วิเคราะห์ และติดตามภาวะตลาดเงิน ตลาดเงินตราต่างประเทศ ตลาดตราสารหนี้
และดำเนินการในตลาดเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงิน เสถียรภาพค่าเงินบาท
รวมทั้งการดูแลอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินของประเทศ
2. ศึกษา วิเคราะห์ และติดตามภาวะเศรษฐกิจ ตลาดการเงิน ตลาดทุน ตลาดทองคำ
แนวโน้มอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน และปัจจัยอื่นของประเทศที่ ธปท. ลงทุน
เพื่อวางแผนกลยุทธ์การลงทุนและดำเนินการบริหารเงินสำรองทางการ
3. งานติดตาม วิเคราะห์ สอดส่อง ดูแลตลาดการเงิน (Market Surveillance) เพื่อช่วยเป็น
เครื่องชี้ในเชิงนโยบายสำหรับการดำเนินนโยบายการเงินลักษณะ forward looking มาก
ขึ้น

ฝ่ายกำกับการแลกเปลี่ยนและสินเชื่อ
1. ศึกษา วิเคราะห์ และดำเนินการเกี่ยวกับควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินทั้งด้านการพิจารณา
คำขอ การให้ใบอนุญาต กำกับ ตรวจสอบ วิเคราะห์ และประเมินความเสี่ยงการประกอบ
ธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ
2. ศึกษา วิเคราะห์ พิจารณา และดำเนินการเกี่ยวกับการให้สินเชื่อแก่ภาคเศรษฐกิจตาม
กรอบนโยบาย ธปท.

ฝ่ายบริหารความเสี่ยง
และปฏิบัติการ
ทางการเงิน

กลุ่ม 1
1. สนับสนุนการจัดทำกรอบการบริหารความเสี่ยงต่าง ๆ ของการบริหารเงิน
สำรองทางการ และการดำเนินการที่ผ่านตลาดการเงิน ตลาดตราสารหนี้ ตลาดเงินตรา
ต่างประเทศ และสนับสนุนการจัดทำประเมินผลตอบแทนและความเสี่ยงของการบริหารเงิน
สำรองทางการ
2. กำหนดแนวทางและวิธีดำเนินการบริหารเงินสำรองทางการในส่วนที่จัดสรร
ให้ผู้จัดการทุนภายนอกบริหาร

กลุ่ม 2
1. กำกับและวิเคราะห์ความเสี่ยงของงานบริหารเงินสำรองและธุรกรรมด้านตลาดการเงิน
บริหารคู่ค้าตลอดจนสัญญาทางการเงินที่เกี่ยวข้อง
2. ตีราคาและบริหารหลักประกัน (Margin call/receive) จากธุรกรรมที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง
ทันเวลา ภายใต้กรอบความเสี่ยงที่ ธปท. กำหนด และ/หรือ เงื่อนไขสัญญาที่ ธปท. ตกลงกับ
คู่ค้า พร้อมทั้งศึกษาเครื่องมือการลงทุนใหม่ๆ และแนวทางการบริหารหลักประกัน (Collateral
Management) เพื่อรองรับการขยายการลงทุนของ ธปท.

สายนโยบายสถาบันการเงิน

ฝ่ายกลยุทธ ์สถาบันการเงิน
1. ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแผนงานและรายงานเพื่อสนับสนุนกรอบดำเนินการกำกับดูแล
สถาบันการเงิน นโยบายกำกับธุรกิจและความเสี่ยงข้ามพรมแดนสำหรับสาขาธนาคาร
ต่างประเทศในไทย นโยบายการประสานงานกับผู้กำกับระหว่างประเทศ นโยบายการเปิด
เสรีภาคการเงินทั้งในระดับพหุภาคีและทวิภาคี
2. ศึกษา ติดตาม วิเคราะห์ และประเมินผลการดำเนินงานและความเสี่ยงที่สำคัญในระบบ
สถาบันการเงิน รวมทั้งผลการดำเนินนโยบายกำกับดูแลสถาบันการเงินที่มีต่อฐานการ
ดำเนินงานของระบบสถาบันการเงิน
3. ศึกษาและพัฒนาแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ตลอดจนกฎหมายและกฎเกณฑ์กำกับ
สถาบันการเงิน

ฝ่ายนโยบายความเสี่ยง
1.ศึกษา วิเคราะห์ และติดตามกฎเกณฑ์การกำกับสถาบันการเงินขององค์กรกำกับดูแล
ต่างประเทศและของประเทศต่างๆ ตลอดจนการทำธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงินของ
สถาบันการเงิน
2. ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาแนวทางการกำกับดูแลความเสี่ยงสถาบันการเงินด้านเครดิต
ด้านปฏิบัติงาน และด้านตลาด เงินกองทุนของสถาบันการเงิน การกำหนดนโยบายขอบเขต
ธุรกิจสถาบันการเงิน กลุ่มธุรกิจการเงิน ธุรกรรมอนุพันธ์ทางการเงิน นโยบายการกำกับ EBanking
และ E-Finance

ฝ่ายนโยบายระบบการชำระเงิน
1. ศึกษา วิเคราะห์ สำรวจ และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบหรือสื่อการชำระเงิน แนวโน้มการ
เติบโตของธุรกิจบริการการชำระเงินของประเทศ ความต้องการ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบ
การชำระเงินทั้งในด้านของผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการ ที่เป็นบุคคล กลุ่มธุรกิจในอุตสาหกรรม
ต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับมหภาค เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเสนอแนะ
แนวนโยบายการชำระเงิน
2. ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ และวิจัยระบบการชำระเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึง
ความต้องการของภาครัฐและภาคเอกชน ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี รูปแบบการให้บริการ
นวัตกรรมของระบบการชำระเงิน ความเสี่ยง การบริหารความเสี่ยง กฎหมาย และมาตรฐานต่าง
ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบการชำระเงิน เพื่อจัดทำมาตรการควบคุมความเสี่ยงในภาพรวม และ
สนับสนุนระบบที่จัดตั้งขึ้นใหม 
3. ศึกษาและพิจารณากำหนดแนวทางการพัฒนาระบบหรือสื่อการชำระเงินของภาคเอกชนให้
สอดคล้องกับเสถียรภาพและกรอบนโยบายระบบการชำระเงิน ทั้งระบบการชำระเงิน
ภายในประเทศ และการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินกับต่างประเทศ

สายกำกับสถาบันการเงิน

ฝ่ายกำกับสถาบันการเงิน
1. กำกับดูแลสถาบันการเงินและธุรกิจในเครือ บริษัทบริหารสินทรัพย์ และ Non-bank
เกี่ยวกับการพิจารณาอนุญาต ให้ความเห็นชอบ หรือผ่อนผันตามขอบเขตของกฎหมาย
ประกาศ คำสั่ง หรือหลักเกณฑ์ รวมทั้งคำขออนุญาตประกอบธุรกรรม Derivatives
ธุรกรรมทางการเงินใหม่ และธุรกรรมที่มีความซับซ้อน (Structured Products) ของ
สถาบันการเงิน
2. ติดตาม กำกับ ดูแลการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินและธุรกิจในเครือ บริษัทบริหาร
สินทรัพย์ และ Non-bank ให้อยู่ในขอบเขตของกฎหมาย ประกาศ คำสั่ง และหลักเกณฑ์
รวมถึงดำเนินการกรณีไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
3. พิจารณาปรับหลักเกณฑ์และแนวทางการกำกับดูแลสถาบันการเงินและธุรกิจในเครือ
บริษัทบริหารสินทรัพย์ และ Non-bank ให้มีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ
มาตรฐานสากลและมีความมั่นคง
4. ตอบข้อหารือของสถาบันการเงินในความรับผิดชอบเกี่ยวกับกฎหมายประเทศต่าง ๆ
โดยเฉพาะในกรณีที่ยังไม่มีแนวทางพิจารณาหรือหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน
รายละเอียดลักษณะงานของฝ่ายงานหลัก ธปท.

ฝ่ายตรวจสอบความเสี่ยงและเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ตรวจสอบ กำกับดูแล และประเมินความพร้อมในการใช้เครื่องมือเชิงปริมาณหรือแบบจำลอง
ในการดำเนินธุรกิจ การบริหารความเสี่ยงด้านเครดิต ตลาด และปฏิบัติการ และความพอเพียง
ของเงินกองทุนตามแนวทาง หลักเกณฑ์ และนโยบายการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงิน
2. ศึกษา วิเคราะห์ และพัฒนาแนวทางการพัฒนาแบบจำลองการบริหาร Portfolio และการ
บริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
3. ตรวจสอบเพื่อประเมินความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันการเงินในการ
คำนวณเงินกองทุนตามเกณฑ์มาตรฐานสาลกล
4. ตรวจสอบ วิเคราะห์ และกำกับติดตามการดำเนินงานและการบริหารความเสี่ยงด้าน
เทคโนโลยีสารสนเทศ และ E-Banking ของสถาบันการเงิน
ฝ่ายตรวจสอบ 1-2 1. กำหนดแผนกลยุทธ์การตรวจสอบสถาบันการเงิน
2. ตรวจสอบการบริหารความเสี่ยง และฐานะการดำเนินงานของสถาบันการเงิน บริษัทบริหาร
สินทรัพย์ และ Non-bank ที่อยู่ในความรับผิดชอบ
3. ตรวจสอบสถาบันการเงินที่อยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหาฐานะการดำเนินการ หรือถูกทางการ
เข้าแทรกแซง หรือเข้าร่วมทุน หรือปิดกิจการ
4. พัฒนาและปรับปรุงแนวทางการตรวจสอบสถาบันการเงินให้เป็นมาตรฐานสากล

ฝ่ายวางแผนและพัฒนา
1. กำหนดและจัดทำแผนงานประจำปี โครงการและแผนงานการตรวจสอบของสายกำกับ
สถาบันการเงิน ติดตามประเมินผลการนำแผนงาน โครงการไปปฏิบัติ รวมทั้งเสนอแนว
ทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานตามแผนงาน โครงการ
2. ดำเนินการเพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันการเงินของสายกำกับสถาบันการเงิน
3. พัฒนาแนวทางการตรวจสอบ วิเคราะห์และกำกับสถาบันการเงินให้เป็นไปตาม
มาตรฐานสากล
4. ศึกษา ค้นคว้า การทำธุรกรรมใหม่ๆ ของสถาบันการเงิน เพื่อวางพัฒนาแนวทางในการ
กำกับตรวจสอบ ให้สามารถรองรับธุรกรรมใหม่ ๆ ในอนาคต

ฝ่ายวิเคราะห์และติดตามฐานะ
1.วิเคราะห์และติดตามฐานะของสถาบันการเงินในภาพรวมและรายสถาบันทั้งในรูปของการ
วิเคราะห์ฐานะการเงิน และการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและฐานะการ
ดำเนินงาน และเสนอแนะแนวทางเบื้องต้นในการดำเนินการกับปัญหาของสถาบันการเงิน
2.วิเคราะห์ ติดตามฐานะการดำเนินงานของบริษัทบริหารสินทรัพย์ และ
ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต ในภาพรวม
3. วิเคราะห์ ติดตามฐานะการดำเนินงาน รวมทั้งพิจารณาข้อร้องเรียนและร้องทุกข ์
ที่มีต่อบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีสถาบันการเงินถือหุ้น ตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้นไป และบริษัทที่
ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) ที่มีสถาบันการเงินถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 20 ขึ้น
ไป

ฝ่ายตรวจสอบสถาบ้นเฉพาะกิจและ Nonbank
1. ตรวจสอบ วิเคราะห์ และติดตามฐานะการดำเนินงานของสถาบันเฉพาะกิจ
บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่ไม่มีสถาบันการเงินถือหุ้นหรือมีสถาบันการเงินถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 20
บริษัทที่ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) ที่ไม่มีสถาบันการเงินถือหุ้นหรือมี
สถาบันการเงินถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 20 และบริษัทข้อมูลเครดิต เพื่อให้มีความมั่นคงปลอดภัย
แก่ประชาชนที่เกี่ยวข้อง
2. การดำเนินการตามกฎหมายกับ บริษัทที่ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (Non-bank)
ที่อยู่ภายใต้การกำกับและที่ไม่ได้รับอนุญาต และให้ความรู้ความเข้าใจการใช้บริการทาง
การเงินแก่ประชาชน
3. ศึกษาติดตามแนวทางการตรวจสอบและวิเคราะห์สถาบันการเงินเฉพาะกิจ บริษัทบริหาร
สินทรัพย์ บริษัทที่ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) และบริษัทข้อมูลเครดิต
เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาระบบการตรวจสอบให้มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตาม
มาตรฐานสากล
รายละเอียด(เพิ่มเติม) / เอกสาร
เว็บไซต์ / ลิงค์อื่นๆ
ฝากประวัติ ฝากประวัติเพื่อสมัคงานกับเว็บไซต์





บริษัท ไทยเว็บ คอร์ปอเรชั่น จำกัด
2/152 ซอยเพชรเกษม 114 แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10160
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี : 0105553027232
Tel : 02-810-8300 (จ.-ศ.08.30 - 17.30 น.) , 085-8213121 (24 ชม.) Fax : 02-810-8301
Email : [email protected] (ฝ่ายขาย) [email protected] (ฝ่ายบริการลูกค้า)
appstore googleplay
เพิ่มเพื่อน Line Facebook Jobthaiweb.com
0.56160092353821